Last updated: 10 มิ.ย. 2564 | 1172 จำนวนผู้เข้าชม |
แม้ว่าเครื่องราชฯ ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทยและตริตาภรณ์ช้างเผือก (ซึ่งเหรียญคล้องคอทั้งสองเหรียญนี้จะใช้ร่วมกันกับชั้น ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย และทวีติยาภรณ์ช้างเผือกด้วยค่ะ ) จะมีสายยาวไว้สำหรับคล้องคอ แต่เวลาที่ประดับเครื่องราชฯบนชุดขาวจริงๆ ไม่จำเป็นต้องนำสายนี้ไปคล้องคอเลยค่ะ เรามีวิธีการแต่งตัวเครื่องราชฯชั้นนี้มาฝากค่ะ
ในการสาธิตนี้ จะเป็นการสาธิตการแต่งตัวสำหรับผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ ชั้น ตช. และ ตม. หรือ ผู้ที่ได้รับเครื่องราชฯ ทช. และ ทม. (ผู้ที่ได้รับ ทช. และ ทม. นั้น จะติดดวงตราห้อยคอ และดวงดาราที่ใต้กระเป๋าเสื้อ) ซึ่งตามรูปนั้นอาจจะเห็นบางส่วนของสายสะพาย ขออธิบายก่อนนะคะว่า หุ่นที่ร้าน มีไว้เพื่อการสาธิตให้ข้าราชการที่มาที่ร้านได้ศึกษาและสาธิตให้เห็นถึงการแต่งตัวว่าอะไรควรอยู่ตรงไหน ดังนั้น บนตัวหุ่นจึงมีลักษณะของการแต่งดวงตราห้อยคอ การประดับดวงดารา การประดับแผงเหรียญ การประดับสายสะพาย ดังนั้น บางส่วนของสายสะพายจึงมีปรากฏในบางมุมของรูปบ้างค่ะ
อันดับแรก ปลดกระดุมคอเม็ดแรกออกก่อน แล้วทาบดวงตราห้อยคอ ตช. เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม โดยให้สายยาวอยู่ด้านในของเสื้อค่ะ
เมื่อหาตำแหน่งได้แล้ว ก็จะใช้เข็มกลัด กลัดลงไปด้านในตามรูปค่ะ
จากนั้นก็ติดกระดุมเสื้อเม็ดบน และตะขอเสื้อค่ะ
เมื่อติดกระดุมเสื้อเรียบร้อยแล้ว จัดผ้าและเหรียญให้ดูเรียบร้อยค่ะ ถ้าจะให้สวยคือ ควรเห็นผ้าเล็กน้อยค่ะ
ในกรณีที่ต้องติดดวงตราห้อยคออีกดวง ให้เริ่มโดยการพับผ้าทบครึ่งตามแนวยาวค่ะ
หลังจากพับผ้าแล้ว ก็จัดผ้าให้ดูเรียบร้อย ไม่ขยุกขยิก หรือยับยู่ยี่จนเกินไปค่ะ
จากนั้นเราก็ค่อยๆสอดผ้าที่พับครึ่งนั้นเข้าไปในรังดุมเม็ดที่สอง (นับจากด้านบนค่ะ) แล้วอาจจะกลัดเข็มกลัดด้านในเพื่อให้ผ้าไม่เคลื่อนไปมาค่ะ
จากนั้นก็กลัดกระดุมเม็ดที่สองค่ะ โดยให้ผ้าและเหรียญอยู่ด้านนอกของกระดุมนะคะ
พอเสร็จแล้ว ก็จะออกมาในลักษณะนี้ค่ะ
นี่เป็นเพียงวิธีการแต่งกายวิธีหนึ่งที่ทางร้านมักจะแนะนำให้กับลูกค้านะคะ
อาจจะมีท่านอื่นๆที่มีวิธีที่แตกต่างกันไปจากนี้ได้ค่ะ
10 มิ.ย. 2564
10 มิ.ย. 2564
10 มิ.ย. 2564
10 มิ.ย. 2564