เครื่องหมายพื้นฐานสำหรับบุคคลธรรมดา / ราชนิกูล ชาย เมื่อต้องแต่งชุดขอเฝ้า ทั้งแบบชุดปกติขาว และชุดขาวเต็มยศ 
แผงคอเข้าเฝ้า
กระดุมเกลี้ยง
กรณีแต่งชุดขอเฝ้าแบบชุดปกติขาว (เสื้อขาว กางเกงขาว) สามารถประดับแพรแถบที่หน้าอกด้านซ้าย 

แพรแถบ กรณีไม่เคยได้รับเครื่องราชฯมาก่อน 

แพรแถบ กรณีได้รับพระราชทานเครื่องราชฯ 
ส่วนมากจะได้รับในตระกูลดิเรกคุณาภรณ์ สามารถประดับได้ตามระดับชั้นที่ได้รับพระราชทานมา
กรณีชุดขอเฝ้า ชุดขาวเต็มยศ (เสื้อขาว กางเกงดำ) ประดับแผงเหรียญ ไว้ที่หน้าอกด้านซ้าย 
แผงเหรียญที่ระลึก กรณีไม่เคยได้รับเครื่องราชฯมาก่อน  
แผงเหรียญที่ระลึก กรณีได้รับเครื่องราชฯ ดังชั้นต่อไปนี้จะสามารถประดับคู่กับเหรียญที่ระลึกที่หน้าอกด้านซ้ายได้ 
  • ชั้นเหรียญเงิน เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นเบญจมดิเรกฯ ชั้นจตุดิเรกฯ 
แต่ชั้นที่สูงกว่านี้จะมีระเบียบการประดับที่แตกต่างไปตามชั้นที่ได้รับ 

(จากภาพ เป็นเหรียญจตุดิเรกฯ / เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย /ลูกเสือสดุดีชั้น 3/84ปี ร.9/84 ปีพระพันปีหลวง)
กรณีร่วมงานกลางแจ้ง ส่วนใหญ่จะมีการกำหนดให้ใส่หมวกทรงหม้อตาล
กรณีร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ติดแขนทุกข์ที่แขนด้านซ้าย
สำหรับผู้หญิง ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ เมื่อได้รับหมายกำหนดการแต่งกาย จะสามารถแต่งกายได้ตามลักษณะต่อไปนี้ 

หมายกำหนดการ เขียนว่า ชุดปกติขาว

ชุดที่ใส่ :  ชุดไทย เช่น ชุดไทยจิตรลดา (บางงานอาจจะระบุสี)

ประดับหน้าอกด้านขวามือ : เข็มพระราชทานที่ระลึก (เป็นความนิยม) 


หมายกำหนดการ เขียนว่า ชุดขาวเต็มยศ 

ชุดที่ใส่ :  ชุดไทย เช่น ชุดไทยจิตรลดา (บางงานอาจจะระบุสี)

ประดับหน้าบ่าเสื้อด้านซ้าย :  เครื่องราชฯ ชั้นดิเรกคุณาภรณ์ และ หรือเหรียญที่ระลึกแบบปีกแมงปอ 

ประดับหน้าอกด้านขวามือ : เข็มพระราชทานที่ระลึก (เป็นความนิยม)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้